วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวเกี่ยวกับ software และ technology

ข่าวเกี่ยวกับ software และ technology

เปิดตัวแล้ว แอพ Facebook สำหรับมือถือทั่วไป รุ่นไหนก็ใช้ได้!

Facebook เป็นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่สามารถแชร์ภาพ บอกเล่าความรู้สึก  และสนทนากับเพื่อนๆกลุ่มต่างๆทั้งเพื่อนเก่า เพื่อนร่วมงาน  หรือแม้กระทั่ง ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ๆ  เมื่อก่อนการอัพสถานะบน facebook จะต้องกระทำผ่าน พวกคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค แท๊บเล๊ท และมือถือพวกสมาร์ทโฟน ส่วนโทรศัพท์มือถือทั่วไป (Feature Phone)  ก็มีบางรุ่นรองรับ แต่ส่วนใหญ่จะทำงานกับทาง facebook ได้ไม่เต็มที่ จนถึงตอนนี้ facebook สามารถเล่นบนมือถือทั่วไปได้แล้ว
เพราะทาง facebook ได้ออกแอพพลิเคชั่น facebook for everyphone (หรือแอพ facebook สำหรับมือถือทั่วไปที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน) โดยคุณสมบัติของแอพ ทำให้โทรศัพท์มือถือทั่วไปที่รองรับทั้ง การท่องเน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และ รองรับjava กว่า 2500 รุ่น สามารถเล่น facebook ได้ และเข้าถึงการทำงานในส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็น ข่าว  , inbox , รูปภาพ การอัพโหลด , รายชื่อเพื่อนๆใน facebook  และอื่นๆอีกมากมาย
รวมไปถึงสามารถถ่ายรูปแล้วอัพขึ้น facebook ได้สมบูรณ์แบบด้วย  โดยการเข้าถึงข้อมูลของ facebook For Everyphone นี้ เหมือนกับแอพ facebook บนโทรศัพท์มือสมาร์ทโฟนอย่าง android และ iPhone เช่นกัน   หากใครที่มืมือถือธรรมดาที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน  รองรับอินเตอร์เน็ต และรองรับการติดตั้งผ่าน Java ก็สามารถติดตั้งได้ผ่านทางลิงค์เว็บไซต์  d.facebook.com/install บนโทรศัพท์มือถือของคุณ แค่นี้มือถือธรรมดาของคุณก็สามารถเล่น facebook ได้แล้ว
ข้อมูลจาก electronista , readwriteweb , electricpig
อัพเดท ได้รับการ feedback ไปว่ายังมีปัญหาเรื่องการพิมพ์ภาษาไทยในขณะนี้ ดังนั้น facebook for everyphone ที่ได้นำเสนอ จะเหมาะสำหรับการพิมพ์แบบภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาไทย ควรใช้กับพวกสมาร์ทโฟน android , windowsphone และ iphone เช่นเดิม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
software และ technology มีฐานการผลิตที่ประเทศใหนบ้าง
คลัสเตอร์ซอฟต์แวร์ ไมโครชิป และอิเล็กทรอนิกส



ความสำคัญ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการส่งออกปีละ 1.5 ล้านล้านบาท หรือเกือบหนึ่งในสามของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมดของประเทศและมีการจ้างงาน 4 แสนคน อุตสาหกรรมในประเทศอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและแผงวงจรไฟฟ้า (integrated circuit : IC) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ) และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์) ในยุคสารสนเทศนี้ จะเห็นไมโครชิปและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์แทบทุกชนิด (embedded system) เช่น อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องมือแพทย์ และยานยนต์ เป็นต้น โดยมีซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดให้เครื่องมือเหล่านี้ทำงานตามที่ต้องการได้ ซอฟต์แวร์ ไมโครชิป และอิเล็กทรอนิกส์ ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ในยุคเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ โดยเป็นเครื่องสำคัญในขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและสังคมให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเปิดโอกาสให้มีวิถีชีวิตและธุรกิจแนวใหม่ที่ตอบสนองความใฝ่ฝันของมนุษย์ได้สมบูรณ์ขึ้น

สถานภาพปัจจุบัน
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมหลักตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (hard disk drive) โดยมีปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปี พ.ศ. 2547 มีการจ้างแรงงานกว่า 100,000 คน มูลค่าการส่งออกประมาณ 483,000 ล้านบาท ตลาดในประเทศมีมูลค่าเกือบ 53,000 ล้านบาท และเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 13 ต่อปี ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระดับเริ่มต้นของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ยังต้องนำเข้าเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ และยังต้องพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรของไทยอีกมาก

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสัดส่วนของการใช้งานระบบสมองกลฝังตัว (embedded system) ในสัดส่วนและมูลค่าที่สูง มูลค่ารวมของตลาดทั้งโลกในปี 2552 จะอยู่ที่ประมาณ 88 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉลี่ยใน 5 ปีจะมีการเติบโตร้อยละ 14 อุตสาหกรรมอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification : RFID) ในตลาดโลกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 25 ต่อปี ในประเทศไทยมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานด้านการผลิตในอุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การควบคุมการเข้า-ออก การปศุสัตว์ และการเงิน โดยในปี 2548 มีมูลค่า 856 ล้านบาท (ร้อยละ 1 ของตลาด RFID ทั่วโลก) และเพิ่มเป็น 1,8028 ล้านบาท ในปี 2550

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประสบภาวะคุกคามอย่างมากทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ จุดอ่อนของประเทศไทยคืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศจะมีมูลค่าเพิ่มต่ำ เพราะต้องนำเข้าชิ้นส่วนในสัดส่วนสูง ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนผลิตในไทย อาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า เพื่อการแข่งขันด้านราคาในตลาดระหว่างประเทศ ส่วนตลาดในประเทศ ก็ประสบปัญหาจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร เทคโนโลยี และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานให้มีมูลค่าเพิ่มในประเทศมากขึ้นและให้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สวทช. ปลื้ม สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SEI) ชูมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอันดับ 1 ของอาเซียน และ อันดับ 15 ของโลก ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI…

นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ที่สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ (Software Engineering Institute :SEI) แห่งมหาวิทยาลัย คาร์เนกี ประกาศให้ บริษัท ซอฟต์แวร์ไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นลำดับที่ 15 ของ โลก จากบริษัทที่ผ่านการประเมินทั้งหมด 76 ประเทศ และเป็นลำดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไทยสามารถแซงหน้าประเทศมาเลเซียได้สำเร็จ ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทยได้รับความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความภาคภูมิใจในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับและ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนเป็นตัวเชื่อมคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ๆให้กับผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC

ทั้งนี้ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอัญมณี เนื่องจากความต้องการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเสริมจากการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ขณะที่ ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยในวันนี้ เป็นผลมาจากการที่ซอฟต์แวร์พาร์คมีโครงการ สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ยกระดับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ ด้วยการทำงานที่มีกระบวนการตามมาตรฐาน CMMI อันเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้ง ยังเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ ลดความเสี่ยงด้านการบริหารบุคลากรโดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสามารถเปลี่ยนถ่ายงานภายในทีมงานได้ง่าย ทำให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ครบถ้วนตรงตามกำหนดเวลา ภายใต้งบประมาณที่กำหนด สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการแข่งขันในระดับเวทีโลก

สำหรับ โครงการ SPI@ease เป็นการผนึกกำลังการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐมี 2 หน่วย คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ภายใต้การดำเนินโครงการของ สวทช. โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITAP) และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ที่เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี 2550 และนับจากนั้นมาโครงการได้มีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์กว่า 50 บริษัทที่สามารถพัฒนากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐาน CMMI และผ่านการประเมินในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

“ความสำเร็จในครั้งนี้ จะตอกย้ำความมั่นใจว่า ไทยพร้อมเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดสากลในระดับเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ สวทช. ที่มีพันธกิจหลักในการสร้าง เสริมความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทั้งในแง่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งมอบภาคเอกชนให้ผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ การสนับสนุนภาคเอกชน ในด้านการบริการวิจัย การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ




สำหรับมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย Software Engineering Institutle (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงมีความจำเป็นที่ทุกประเทศต้องส่งเสริมให้บริษัทผู้ ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองหันมาให้ความสนใจ เพื่อยกระดับคุณภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งใน ระดับสากล นอกจากนี้ ยังวางรากฐานในการยกระดับขีดความสามารถของ บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ให้พร้อมแข่งขันในเวทีการค้าเสรี และในระดับสากล โดย CMMI กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและการทำงานต่างๆ ชัดเจน ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง และขอบเขตการทำงานของ CMMI ที่เข้ามาควบคุมยังทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์ดีขึ้น

อีกทั้ง ยังลดจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต หากกระบวนการทำงานไม่ชัดเจนอาจเกิดข้อผิดพลาดและนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น หากสามารถควบคุมคุณภาพและส่งงานได้ตามกำหนดเวลา จะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจในมาตรฐาน ซึ่งถือว่าสำคัญไม่เฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น หากมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม จะยิ่งเพิ่มมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้ามากยิ่ง ขึ้น อีกด้วย.



แหล่งข้อมูล : http://m.thairath.co.th/content/tech/269855

http://www.ict.bus.ku.ac.th/backoffice/pdf_research/570_176_g.pdf

http://www.atsi.or.th/index.asp?pageid=206&directory=2110&pagename=viewlink




โดย นางสาว สุภัชชา แสนไทย

คณะ เทคโนโลยีการจัดจัดการ

สาขา การจัดการ โปรแกรมวิชา การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

วิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

กลุ่มเรียน วันพุธ เช้า ( 08.00-11.00 น. )





แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟแวร์ และ ภาษาคอมพิวเตอร์


1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ
     1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ
     2.กลุ่มการใช้งานทางด้านธรุกิจด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
     3.กลุ่มใช้งานบนเว็บและการสื่อสาร
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เองเฉพาะกรณี


2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่้วไปมีกี่ประเภท จงอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 3 ประเภท
     1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว-มุ่งเน้นให้บริการผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งานดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้นนิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและการทำงานแบบทั่วไป
     2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย- มุ้งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้หลายๆ คนนิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับ เครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมฯที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่ายนิยมใช้สำหรัีบงานให้บริการผลข้อมูล
     3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง- พบเห็นได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเออ หรือ สมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ดี เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง
3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง(Embedded OS )คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด จงอธิบาย
ตอบ. เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร เฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถ หลากหลาย ไม่ใช่โทรเข้า-ออกได้แต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถ ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเว็บรับอีเมล์และรับส่งแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วยรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายwireless โดยเฉพาะสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน


4.โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ. เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโปรแกรมนี้มันก็จะฟ้องขึ้น เราก็สามารถลบทิ้งได้ทันที เพื่อความราบรื่นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมประสงค์ร้ายต้องอัพเดทข้อมูลใหม่อยู่เสมอเพื่อให้รุ้จักหาทางยับยั้งไวรัส
ควรติดตั้งไว้ในเครื่องทุกเครื่อง


5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใด จงอธิบาย
ตอบ.โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility)เป็นลักษณะของโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงนั้นเอง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์( zip files ) ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, Winzip เป็นต้น และแม้ในตัว Windows XP เองก็มีความสามารถในการบีบอัดไฟล์ระดับหนึ่งอยู่แล้ว เรียกว่าเป็น Compressed Folder


6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ 3 โปรแกรม
ตอบ - Microsoft Word


        - Sun Star Office Writer


        - Microsoft Office


7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่าง ๆของโปรแกรมแต่ละตัวมาอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียวซอฟต์แวร์ที่เรารู้จักกันดี เช่น Microsoft Office ข้อดีของการจัดทำซอฟต์แวร์แบบนี้ก็คือทำให้การใช้งานมีความง่ายและคล่องตัวมากขึ้นอีกทั้งยังทำให้มีราคาถูกลงกว่าการเลือกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้


8. นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่ายควรใช้โปรแกรมประเภทใด
ตอบ. โปรแกรมประเภทตารางคำนวณในการคำนวณทั่วไปแล้วโปรแกรมตารางคำนวณ ยังมีความสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูล เช่นการหาผลรวม การหาค่าที่สูงสุด การหาค่าที่ต่ำสุด รวมถึงการกรอกข้อมูลเฉพาะที่สนใจ และยังสามารถนำเอาข้อมูล ที่มีอยู่มาสร้างเป็นกราฟเพื่อให้บริหารสามารถมองเห็นภาพของข้อมูล ได้ชัดเจนขึ้น


9. Internet Relay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ Internet Relay Chat
- โปรแกรมสำหรับการสนทนาเฉพาะกลุ่ม
- เรียกสั้นๆว่าโปรแกรม แชท (chat)
- ติดต่อกันโดยพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมา
- ผู้สนทนาสามารถตั้งห้องและพูดคุยกันในแชทรูม (chat room) ได้
- ตัวอย่างโปรแกรม เช่น PIRCH, MIRC Instant Messaging
- ผู้รับและผู้ส่งสามารถที่จะเปิดการเชื่อมต่อโปรแกรมและส่งข้อความถึงกันได้โดยทันทีผ่านเบอร์อีเมล์หรือหมายเลขที่ระบุ
- การพูดคุยผ่านข้อความนี้จะเป็นแบบส่วนตัวมากขึ้น
- บางโปรแกรมอาจสนทนาแบบกลุ่มได้ด้วย
- ตัวอย่างโปรแกรม เช่น ICQ , MSN Messenger, Yahoo Messenger


10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เหมาะกับกลุ่มคนที่ใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business) เพราะโปรแกรมประเภทการนำเสนองานจะเน้นการใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะโดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าการใช้แรงงานคน


11. ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุดและมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ โปรแกรม Microsoft Internet Explorer


12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
ตอบ   www.google.co.th


ขั้นตอนที่ 1
ทาง google จะส่งเจ้าโปรแกรมที่ชื่อสไปเดอร์ (spider หรืออีกชื่อคือ web crawler) ซึ่งเป็นโรบอต (robot) สรุปแล้วมันก็โปรแกรมตัวเดียวกันใช่ไหมครับแต่มีชื่อเรียกหลายชื่อ สไปเดอร์จะถูกส่งไปตามเว็บไซต์ โดยวิ่งไปตามลิงค์ต่าง ๆ ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง สไปเดอร์จะทำการประมวลผล เพื่อจัดลำดับในการแสดงผลโดยใช้ระบบเฉพาะของทางกูเกิลเอง ซึ่งระบบจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจแต่ละหน้าของกูเกิลเรียกว่า "เพจแรงก์" (PageRank
ขั้นตอนที่ 2
• เทคโนโลยี PageRank: PageRank จะดำเนินการวัดความสำคัญของหน้าเว็บนั้นอย่างยุติธรรม โดยแก้ไขสมการที่มีตัวแปรกว่า 500 ล้านค่า และคำอีก 2 พันล้านคำ แทนที่จะนับลิงก์โดยตรง PageRank จะแปลลิงก์จากหน้า A ไปยังหน้า B เป็นการลงคะแนนให้กับหน้า B โดยหน้า A จากนั้น PageRank จะประเมินความสำคัญของหน้าเว็บตามจำนวนการลงคะแนนที่ได้รับ
นอกจากนี้ PageRank ยังพิจารณาความสำคัญของแต่ละหน้าที่มีการลงคะแนน เนื่องจากหน้าเว็บบางหน้าอาจมีค่ามากกว่า ทำให้หน้าที่เชื่อมโยงไปมีค่ามากว่า หน้าเว็บที่สำคัญจะได้รับ PageRank สูง และปรากฏด้านบนของผลลัพธ์การค้นหา เทคโนโลยีของ Google จะใช้ข้อมูลสะสมของเว็บเพื่อพิจารณาความสำคัญของหน้านั้นๆ ผลลัพธ์นี้จะไม่มีการดำเนินการหรือจัดการโดยบุคคล ทำให้ผู้ใช้เชื่อมั่นใน Google ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และไม่ถูกบิดเบือนด้วยการจัดวางตำแหน่งที่มีการชำระเงิน
• การวิเคราะห์จับคู่ไฮเปอร์เท็กซ์:เครื่องมือค้นหาของ Google ยังวิเคราะห์เนื้อหาของหน้าเว็บ แต่แทนที่จะสแกนข้อความในหน้าเว็บ (ซึ่งอาจมีการจัดการโดยผู้เผยแพร่เว็บไซต์ผ่านทาง meta-tag) เทคโนโลยีของ Google จะวิเคราะห์เนื้อหาทั้งหมดและพิจารณาแบบอักษร การแบ่ง และตำแหน่งของแต่ละคำ นอกจากนี้ Google ยังวิเคราะห์เนื้อหาของหน้าเว็บใกล้เคียงเพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์ที่แสดงนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการค้นหาของผู้ใช้มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3
Google Web server ทำการจัดเก็บไฟล์ช้อมูลที่ผ่านการคัดสรรแล้ว
ขั้นตอนที่ 4 Index server ทำดัชนีเพื่อการค้นคืนที่รวดเร็วแก่ผู้ใช้


www.facebook.com
Facebook ก็คือ Soical Networking เว็บไซต์หนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพียงแค่เราสมัครเป็นสมาชิกกับ Facebook เราก็จะสามารถแบ่งปันข้อมูล รูปภาพ ความรู้สึกผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ Facebook ได้ และที่สำคัญมากที่เป็นจุดประสงค์หลักของ Facebook ก็คือ การหาเพื่อนเก่าผ่านทาง Facebook และสามารถหาเพื่อนใหม่ๆ ได้จากทุกมุมโลกเช่นกัน? แต่ดูเหมือนว่า Facebook จะมีหลักการเช่นเดียวกันการบันทึกลง "หนังสือรุ่น" นั่นเอง แต่แน่นอน เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ Facebook จึงทำอะไรๆ ได้มากมายก็ หนังสือรุ่นธรรมดา..


www.Twitter.com
เป็นบริการส่งข้อความเป็นประโยคสั้นๆ ที่คุณส่งไปนั้นจะเป็นการบอกว่า คุณ กำลังทำอะไรอยู่? ในตอนนั้น เพื่อเป็นบันทึก ณ. ช่วงเวลานั้นว่าคุณทำอะไรอยู่ ลงไปในเว็บไซต์ของ Twitter.com เช่น "กำลังจะกินข้าว" "กำลังจะออกจากบ้าน" เป็นต้น และเมื่อคุณส่งประโยคสั้นๆ ไปเรื่อยๆ ในช่วงเวลาที่คุณมีเวลา และสามารถทำได้ เมื่อกลับมาอ่านมัน ข้อความทั้งหมด มันจะก็จะสามารถประติดประต่อ บอกเรื่องราวว่าคุณทำอะไรไปบ้างช่วงวันหนึ่งๆ ซึ่งจะสะดวกกว่าการ มานั่งหลังคดหลังแข็งมานั่งเขียนบล็อก ทั้งวัน นี้แหละที่ Twitter.com เลยเข้ามาทดแทนและช่วยให้คนไม่ชอบเขียน บล็อก หันมาใช้บริการพวกนี้เยอะมากขึ้น


13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการ website เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงาน
ตอบ โปรแกรม Macromedia Dream weaver


14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้แก้ไขปรับปรุงตัวโปรแกรมต่าง ๆ ได้เองและยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ ด้วยเรียกซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ว่าโอเพ่นซอร์ส ผู้ใช้งานสามารถที่จะนำเอาโค้ดต่าง ๆไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือระบุไว้ของผู้ผลิตดั่งเดิม


15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 เป็นการเขียนโดยอาศัยหลักการแบบที่ไม่เป็นลำดับขั้นตอนที่แน่นอนอาจใช้เพียงแค่การหยิบและวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไปโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะรู้เพียงแค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้นไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเขียนได้ง่ายขึ้นได้ใช้เพียงไม่กี่คำสั่งเพื่อคอยควบคุมเท่านั้น เพราะคำสั่งหรือรูปแบบหลัก ๆ จะถูกสร้างมาเลยทันทีเมื่อเขียนแล้วจะได้รูปแบบโปรแกรมที่มีความสมบูรณ์และสวยงามมากยิ่งขึ้น


16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
ตอบ. ในยุคนี้เป็นการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากขึ้นไปอีกหรือเรียกว่าภาษาธรรมชาติจะทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้ เพื่อช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆและทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและจดจำโครงสร้างไว้นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับสาขาปัญญาประดิษฐ์ เช่นการพัฒนาความรู้และการจำในหุ่นยนต์ การสั่งงานโปรแกรมด้วยเสียง เพิ่มความสามารถ และ สะดวกสบายยิ่งขึ้น






โดย นางสาว สุภัชชา แสนไทย 
คณะ เทคโนโลยีการจัดจัดการ
สาขา การจัดการ โปรแกรมวิชา การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
วิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 
กลุ่มเรียน วันพุธ เช้า ( 08.00-11.00 น. )



บทที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

สรุป
          จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงานเอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน การทำงานร่วมกัน

          องค์ประกอบ 4 อย่างด้วยกัน คือ

          1.) ฮาร์ดแวร์ (hardware)
          2.) ซอฟต์แวร์(software)
          3.) บุคลากร (peepleware)
          4.) ข้อมูล (data)

          ซึ่งองค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้นสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน่วยความจำหลักทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งประมวลผล
หน่วยผลความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและ บันทึกข้อมุลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเลือกใช้ภายหลังได้ และมีทิศทางของระบบการทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ทำให้งานมีคุณภาพ รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1.ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม)
เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ
ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) 
- หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
- หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป
      ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) 
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยลดการนำเข้าจากต่างประเทศรวมถึงการพัฒนาการส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

3.นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการโดยจำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจความต้องการโดยรวมของผู้ใช้โดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทางในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด โดยผู้ใช้เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบงานที่ต้องการให้กับผู้ออกแบบระบบ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดยเฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยกประเภทบัญชีให้กับผู้ออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นต้น

4.ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ. มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้เป็นอย่างดี

5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ. เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นอย่างมีแผนโดยอาศัยหลักการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาตรวจสอบว่า การเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักหรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี สามารถเขียนโปรแกรมได้หลายๆ ภาษา บุคคลเหล่านี้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

6.การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ. เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวกับบุคคลในตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีการติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุมสร้างระบบป้องกันการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีได้เป็นอย่างดี

7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ. เป็นเลขฐานสองที่ประกอบตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อนจึงสามารถ
เอามาใช้งานในการประมวลผลเลขต่าง ๆ ได้ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล
ซึ่งมี 2 ลักษณะเท่านั้นคือ เปิด (1) ปิด (2)

8.กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ดจากนั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านจอภาพ

9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ไมโครโฟนเป็นต้น
- ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้วจากสื่อบันทึกอย่าง ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ซีดี ดีวีดี แฟร์ตไดร์ เป็นต้น

10.พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ”สมอง”และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยว
ข้องอะไรบ้าง

ตอบ. CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเหมือนกับ"สมอง"ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็นส่วน ๆ คือ
- หน่วยควบคุม ( Control Unit )
- หน่วยคำนวณตรรกะ ( Arithmetic Unit) 
- ริจิสเตอร์ ( Register )

11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ. ถือว่าเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่องอย่างถาวรแม้ไฟจะดับก็ไม่สามารถทำให้คำสั่งต่างๆ หายไปได้ ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจดจำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังอยู่เพียงเท่านั้น สามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข้ได้ตลอดเวลา

12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เป็นวงรอบหนึ่ง ๆ ในการทำงานของ CPU จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลัก ๆ โดยการอ่านและดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู้รีจิตเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวลผลจากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่ววนอื่น ๆ เรียกต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนช้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมนการทำงานทั้งหมด

13.ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ. Exectution Time หรือเวลาปฎิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของ CPU
ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฎิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)


โดย นางสาว สุภัชชา แสนไทย
คณะ เทคโนโลยีการจัดจัดการ
สาขา การจัดการ โปรแกรมวิชา การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
วิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน วันพุธ เช้า ( 08.00-11.00 น. )

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เอง เพื่อทำการคำนวณและแสดงผลลัพธ์ออกทางอุปกรณ์แสดงผล โดยที่ผลลัพธ์เหล่านี้จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเรียบเรียงแล้ว จะเรียกผลลัพธ์นี้ว่า "สารสนเทศ"

คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1.ลักษณะเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
- ความเป็นอัตโนมัติ - ความเร็ว
- ความถูกต้อง แม่นยำ
- ความน่าเชื่อถือ
- การจัดเก็บข้อมูล
- ทำงานซ้ำๆได้
- การติดต่อสื่อสาร



2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อนเพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในยุคปัจจุบัน


3.แท่งคำนวณของเนเปียร์ สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตารางเพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์


4.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ."ชาร์ลส แบบเบจ" เนื่องจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้ง


5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ.
ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2


6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ.
เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายใน
ได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่าง มาก


7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ.
UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา


8.ทรายซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยมีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและ
ต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความ
สามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว
และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมาก


9.E-Government คืออะไร จงอธิิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.
Electronic government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสน
เทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน ประชาชนชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของภาครัฐบาล
ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การยื่นเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์
ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันหมดทั่วประเทศ ฯลฯ


10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ.
เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง โดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที


11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ.
Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้นถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งสื่อแบบเดิม ไม่สามารถทำได้


12.รูปแบบของ E-banking สามารถ ทำได้ผ่านช่องทางอะไรบ้างยกตัวอย่างมาประกอบอย่างน้อย 3 ช่องทาง
ตอบ.
ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่องทาง เช่น 
    - ผ่านเครือข่ายอินเตอร์การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้เข้าไปทำธรุกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธรุกรรมคล้ายกับระบบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
    - ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรมก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ - ผู้ตู้ ATMผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้ทั่วประเ้ทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ช.ม.


13.เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ตอบ.
คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจ
กรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย หรือการใช้ติดต่อทางธุรกิจ เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ตรวจสอบ
ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ืทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและ
พกพาติดตัวได้สะดวกกว่า โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือ
ได้เช่นกัน แต่อาจตัดทอนคุรสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย


14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ.
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับ การเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์อื่นๆมาก


15. PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ.
PDA Phone เป็นคืออุปกรณ์ที่รวมเอาความสามารถของ PDA อย่าง Palm หรือ Pocket PC มาผสมผสานกับความสามารถทางด้านการติดต่อสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สะดวกทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอย, การพกพา หรือแม้กระทั่งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ทุกที่ทุกเวลา ในช่วงก่อนที่อุปกรณ์ประเภท PDA Phone จะถือกำเนิดขึ้นมานั้น ผู้ใช้งานกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ทั้งสองตัวคือ PDA และโทรศัพท์มือถือร่วมกันเพื่อให้การทำงานในเชิง Online นั้นเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อมี PDA Phone แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นจะต้องจับอุปกรณ์สองตัวมาเชื่อมต่อกันอีกต่อไป นอกจากนี้ PDA Phone รุ่นใหม่ๆที่กำลังเดินหน้าออกสู่ตลาดอย่างไม่ขาดสายก็ยังรวมเอาความสามารถทางด้านการเชื่อมต่อแบบไร้สายอย่าง Bluetooth หรือ Wireless LAN (Wi-Fi) รวมเข้าไว้ในตัวเครื่องอีกด้วย จึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้นอีกหลายอย่าง


16.ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
ตอบ.
เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเช่น รับรู้หรือจดจำเสียงมนุษย์ได้ เช่น ระบบที่เรียกว่า speech recognition ซึ่งสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำต่างๆ แล้ว
เอาไปวิเคราะห์พร้อมทั่งสั่งการได้เองอัตโนมัติเป็นการช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ิ เช่น ป้อน
ข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน
ของผู้ใช้ลงไปได้มาก เป็นต้น



โดย นางสาว สุภัชชา แสนไทย
คณะ เทคโนโลยีการจัดจัดการ
สาขา การจัดการ โปรแกรมวิชา การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
วิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธ เช้า ( 08.00-11.00 น. )