วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวเกี่ยวกับ software และ technology

ข่าวเกี่ยวกับ software และ technology

เปิดตัวแล้ว แอพ Facebook สำหรับมือถือทั่วไป รุ่นไหนก็ใช้ได้!

Facebook เป็นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่สามารถแชร์ภาพ บอกเล่าความรู้สึก  และสนทนากับเพื่อนๆกลุ่มต่างๆทั้งเพื่อนเก่า เพื่อนร่วมงาน  หรือแม้กระทั่ง ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ๆ  เมื่อก่อนการอัพสถานะบน facebook จะต้องกระทำผ่าน พวกคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค แท๊บเล๊ท และมือถือพวกสมาร์ทโฟน ส่วนโทรศัพท์มือถือทั่วไป (Feature Phone)  ก็มีบางรุ่นรองรับ แต่ส่วนใหญ่จะทำงานกับทาง facebook ได้ไม่เต็มที่ จนถึงตอนนี้ facebook สามารถเล่นบนมือถือทั่วไปได้แล้ว
เพราะทาง facebook ได้ออกแอพพลิเคชั่น facebook for everyphone (หรือแอพ facebook สำหรับมือถือทั่วไปที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน) โดยคุณสมบัติของแอพ ทำให้โทรศัพท์มือถือทั่วไปที่รองรับทั้ง การท่องเน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และ รองรับjava กว่า 2500 รุ่น สามารถเล่น facebook ได้ และเข้าถึงการทำงานในส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็น ข่าว  , inbox , รูปภาพ การอัพโหลด , รายชื่อเพื่อนๆใน facebook  และอื่นๆอีกมากมาย
รวมไปถึงสามารถถ่ายรูปแล้วอัพขึ้น facebook ได้สมบูรณ์แบบด้วย  โดยการเข้าถึงข้อมูลของ facebook For Everyphone นี้ เหมือนกับแอพ facebook บนโทรศัพท์มือสมาร์ทโฟนอย่าง android และ iPhone เช่นกัน   หากใครที่มืมือถือธรรมดาที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน  รองรับอินเตอร์เน็ต และรองรับการติดตั้งผ่าน Java ก็สามารถติดตั้งได้ผ่านทางลิงค์เว็บไซต์  d.facebook.com/install บนโทรศัพท์มือถือของคุณ แค่นี้มือถือธรรมดาของคุณก็สามารถเล่น facebook ได้แล้ว
ข้อมูลจาก electronista , readwriteweb , electricpig
อัพเดท ได้รับการ feedback ไปว่ายังมีปัญหาเรื่องการพิมพ์ภาษาไทยในขณะนี้ ดังนั้น facebook for everyphone ที่ได้นำเสนอ จะเหมาะสำหรับการพิมพ์แบบภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาไทย ควรใช้กับพวกสมาร์ทโฟน android , windowsphone และ iphone เช่นเดิม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
software และ technology มีฐานการผลิตที่ประเทศใหนบ้าง
คลัสเตอร์ซอฟต์แวร์ ไมโครชิป และอิเล็กทรอนิกส



ความสำคัญ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการส่งออกปีละ 1.5 ล้านล้านบาท หรือเกือบหนึ่งในสามของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมดของประเทศและมีการจ้างงาน 4 แสนคน อุตสาหกรรมในประเทศอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและแผงวงจรไฟฟ้า (integrated circuit : IC) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ) และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์) ในยุคสารสนเทศนี้ จะเห็นไมโครชิปและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์แทบทุกชนิด (embedded system) เช่น อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องมือแพทย์ และยานยนต์ เป็นต้น โดยมีซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดให้เครื่องมือเหล่านี้ทำงานตามที่ต้องการได้ ซอฟต์แวร์ ไมโครชิป และอิเล็กทรอนิกส์ ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ในยุคเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ โดยเป็นเครื่องสำคัญในขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและสังคมให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเปิดโอกาสให้มีวิถีชีวิตและธุรกิจแนวใหม่ที่ตอบสนองความใฝ่ฝันของมนุษย์ได้สมบูรณ์ขึ้น

สถานภาพปัจจุบัน
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมหลักตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (hard disk drive) โดยมีปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปี พ.ศ. 2547 มีการจ้างแรงงานกว่า 100,000 คน มูลค่าการส่งออกประมาณ 483,000 ล้านบาท ตลาดในประเทศมีมูลค่าเกือบ 53,000 ล้านบาท และเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 13 ต่อปี ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระดับเริ่มต้นของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ยังต้องนำเข้าเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ และยังต้องพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรของไทยอีกมาก

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสัดส่วนของการใช้งานระบบสมองกลฝังตัว (embedded system) ในสัดส่วนและมูลค่าที่สูง มูลค่ารวมของตลาดทั้งโลกในปี 2552 จะอยู่ที่ประมาณ 88 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉลี่ยใน 5 ปีจะมีการเติบโตร้อยละ 14 อุตสาหกรรมอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification : RFID) ในตลาดโลกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 25 ต่อปี ในประเทศไทยมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานด้านการผลิตในอุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การควบคุมการเข้า-ออก การปศุสัตว์ และการเงิน โดยในปี 2548 มีมูลค่า 856 ล้านบาท (ร้อยละ 1 ของตลาด RFID ทั่วโลก) และเพิ่มเป็น 1,8028 ล้านบาท ในปี 2550

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประสบภาวะคุกคามอย่างมากทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ จุดอ่อนของประเทศไทยคืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศจะมีมูลค่าเพิ่มต่ำ เพราะต้องนำเข้าชิ้นส่วนในสัดส่วนสูง ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนผลิตในไทย อาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า เพื่อการแข่งขันด้านราคาในตลาดระหว่างประเทศ ส่วนตลาดในประเทศ ก็ประสบปัญหาจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร เทคโนโลยี และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานให้มีมูลค่าเพิ่มในประเทศมากขึ้นและให้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สวทช. ปลื้ม สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SEI) ชูมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอันดับ 1 ของอาเซียน และ อันดับ 15 ของโลก ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI…

นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ที่สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ (Software Engineering Institute :SEI) แห่งมหาวิทยาลัย คาร์เนกี ประกาศให้ บริษัท ซอฟต์แวร์ไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นลำดับที่ 15 ของ โลก จากบริษัทที่ผ่านการประเมินทั้งหมด 76 ประเทศ และเป็นลำดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไทยสามารถแซงหน้าประเทศมาเลเซียได้สำเร็จ ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทยได้รับความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความภาคภูมิใจในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับและ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนเป็นตัวเชื่อมคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ๆให้กับผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC

ทั้งนี้ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอัญมณี เนื่องจากความต้องการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเสริมจากการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ขณะที่ ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยในวันนี้ เป็นผลมาจากการที่ซอฟต์แวร์พาร์คมีโครงการ สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ยกระดับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ ด้วยการทำงานที่มีกระบวนการตามมาตรฐาน CMMI อันเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้ง ยังเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ ลดความเสี่ยงด้านการบริหารบุคลากรโดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสามารถเปลี่ยนถ่ายงานภายในทีมงานได้ง่าย ทำให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ครบถ้วนตรงตามกำหนดเวลา ภายใต้งบประมาณที่กำหนด สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการแข่งขันในระดับเวทีโลก

สำหรับ โครงการ SPI@ease เป็นการผนึกกำลังการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐมี 2 หน่วย คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ภายใต้การดำเนินโครงการของ สวทช. โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITAP) และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ที่เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี 2550 และนับจากนั้นมาโครงการได้มีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์กว่า 50 บริษัทที่สามารถพัฒนากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐาน CMMI และผ่านการประเมินในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

“ความสำเร็จในครั้งนี้ จะตอกย้ำความมั่นใจว่า ไทยพร้อมเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดสากลในระดับเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ สวทช. ที่มีพันธกิจหลักในการสร้าง เสริมความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทั้งในแง่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งมอบภาคเอกชนให้ผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ การสนับสนุนภาคเอกชน ในด้านการบริการวิจัย การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ




สำหรับมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย Software Engineering Institutle (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงมีความจำเป็นที่ทุกประเทศต้องส่งเสริมให้บริษัทผู้ ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองหันมาให้ความสนใจ เพื่อยกระดับคุณภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งใน ระดับสากล นอกจากนี้ ยังวางรากฐานในการยกระดับขีดความสามารถของ บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ให้พร้อมแข่งขันในเวทีการค้าเสรี และในระดับสากล โดย CMMI กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและการทำงานต่างๆ ชัดเจน ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง และขอบเขตการทำงานของ CMMI ที่เข้ามาควบคุมยังทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์ดีขึ้น

อีกทั้ง ยังลดจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต หากกระบวนการทำงานไม่ชัดเจนอาจเกิดข้อผิดพลาดและนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น หากสามารถควบคุมคุณภาพและส่งงานได้ตามกำหนดเวลา จะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจในมาตรฐาน ซึ่งถือว่าสำคัญไม่เฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น หากมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม จะยิ่งเพิ่มมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้ามากยิ่ง ขึ้น อีกด้วย.



แหล่งข้อมูล : http://m.thairath.co.th/content/tech/269855

http://www.ict.bus.ku.ac.th/backoffice/pdf_research/570_176_g.pdf

http://www.atsi.or.th/index.asp?pageid=206&directory=2110&pagename=viewlink




โดย นางสาว สุภัชชา แสนไทย

คณะ เทคโนโลยีการจัดจัดการ

สาขา การจัดการ โปรแกรมวิชา การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

วิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

กลุ่มเรียน วันพุธ เช้า ( 08.00-11.00 น. )





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น